วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

คำที่คนไทยใช้ผิดบ่อยๆ

      ต่ออีกสักนิดกับภาษาอังกฤษครับ คนไทยใช้กันผิดหรือออกเสียงผิดบ่อยๆ ก็มีเยอะ ตัวเองก็ยังใช้ผิด แต่ไม่เคยรู้ วันนี้ลองยกมากันสักสองสามคำครับ

      1. Six กับ Sick 

            เป็นคำที่ผมเองก็ออกเสียงเหมือนกัน คือ ซิค แต่ให้ถูก Six ที่แปลว่า "เลขหก" ออกเสียงว่า "ซิคส" ในขณะที่ Sick ที่แปลว่า "ป่วย" จะออกเสียง ว่า "ซิค"

      2. Singer 

            คำนี้เรามักอ่านออกเสียงว่า "ซิงเกอร์" (จำได้ว่า ออกเสียงอย่างนี้ตั้งแต่จำความได้) แต่จะให้ถูกต้องออกเสียง ว่า "ซิงเงอร์" ความหมายคือ นักร้อง

      3. Singing

            นี่เองก็อีกคำ ที่ผ่านมาก็ออกเสียงว่า "ซิงกิ้ง" หรือ "ซิงคิง" แต่ผิดอีกแล้วครับ ให้ถูกก็ต้อง "ซิงงิง" จึงจะได้ความหมายว่า การร้องเพลง แต่ถ้าออกเสียงเป็น "ซิงคิง" (singking) จะแปลว่า จมน้ำ

      4. Yoga

           เมื่อเร็วๆนี้มีหนังที่เฉินหลงเล่น ชื่อ กังฟูโยคะ คนไทยเราจะออกเสียงว่า "โยคะ" แต่ฝรั่งจะออกเสียงว่า "โยเกอะ"

      สำหรับวันนี้ ขอแค่ 4 คำนี้ก่อนนะ พอดีเผลอหลับไป ตอนนี้ต้องไปปะคบร้อนและบีบขาให้แม่ก่อนนะ ไว้จะมาต่อในวันต่อไป




วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

Mosfet

      ปัญหาของไลน์ J ถึงวันนี้ ก็ยังคงศึกษาหาวิธีการแก้ Noise แต่ยังไม่ได้ทดลองเสียที แต่ก็ได้ดูวงจรเพื่อใช้ช่วยจัดการอยู่บ้าง เพื่อนำมาต่อเพิ่มกับ Raspberry Pi ที่ขา GPIO รับสัญญาณจาก สวิทต์ หนึ่งในอุปกรณ์ก็คือ Mosfet

      MOSFET (Metal-Oxide-Semiconductor Field-Effect Transistor) หรือ ทรานซิสเตอรสนามไฟฟาชนดออกไซดิ โลหะ  จัดได้ว่าเป็น Transistor ประเภทหนึ่ง แต่สิ่งที่แตกต่างคือ Mosfet ทำหน้าที่เป็นสวิทต์ ส่วน Transistor ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ (เข้าใจว่าความสามารถของมันถูกนำไปใช้งานหลักๆก็แบบนี้แหล่ะ) Mosfet เองมี 4 ขา


      1. Gate 
            เป็นส่วนที่ทำมาจากออกไซด์ของโลหะ โดยสร้างให้เกิดความต่างศักย์ตกคร่อมระหว่างแผ่นสองแผ่นเพื่อ สร้างสนามไฟฟ้าเพื่อควบคุมการเข้าออกของสัญญาณไฟฟ้า

      2. Source
            เป็นส่วนขาเข้าของสัญญาณ

      3. Drain
            เป็นส่วนขาออกของสัญญาณ

      4. Body/Substrate
            เป็นส่วนของขาฐานรอง

      MOSFET มี 2 ประเภท คือ nMos หรือ pMos

            nMos (Negative MOSFET) คือ เมื่อมีความต่างศักย์เป็นบวก (สนามไฟฟ้าแรง) สัญญาณไฟฟ้าจึงจะไหลจาก source ไป drain ได้

            pMos (Positive MOSFET) คือ เมื่อมีความต่างศักย์ต่ำหรือเป็นลบ (สนามไฟฟ้าอ่อน) สัญญาณไฟฟ้าจึงจะไหลจาก source ไป drain ได้

      สำหรับ MOSFET ก็มีหลายเบอร์ หลายรหัส อย่างเช่น NTB5860NL, NTP5860NL, NVB5860NL จะเป็น N-Channel Power MOSFET สามารถรับแรงดันสูงได้ถึง 60 V และกระแสสูงสุดที่ 220 A






คำพ้องรูป

      โอ๊๐๐๐๐ จะเขียน Blog ไรดีน๊าวันนี้ นั่งคิดอยู่นานก็ไม่รู้จะเอาไรมาพูดดี ทีแรกกะว่าตัดใจละ แต่พอลื้อตู้เพื่อหาหนังสือ แต่ไม่รู้ว่าเก็บไว้ไหน ก็เจอเลยครับ นี่แหล่ะ! เอาเรื่องนี้เลย คำพ้องรูปในภาษาอังกฤษครับ ซึ่งอีกไม่นานก็ต้องสอบ TOEIC แล้ว

      ว่าแล้วก็เอามาเขียนเลยละกัน คำพ้องรุปในภาษาอังกฤษ แต่ให้ความหมายที่ต่างกัน เมื่อตำแหน่งที่อยู่ของมันในประโยคต่างกัน

      Mean 
            หากใช้เป็นกริยา เราจะคุ้นเคยกับความหมายว่า หมายความว่า เช่น It is mean?
            แต่ถ้าเป็นคุณศัพท์ จะมีความหมายว่า ใจร้าย เช่น You are so mean.
            และ Mean ยังสามารถแปลว่า ค่าเฉลี่ยก็ได้นะ
   
      Fine
            หากใช้เป็นกริยา จะให้ความหมายว่า ปรับเป็นเงิน
            หากใช้เป็นคำนาม จะให้ความหมายว่า ค่าปรับ
            แต่ถ้าเป็นคุณศัพท์ จะมีความหมายว่า สบายดี

      Will 
            หากใช้เป็นกริยา จะให้ความหมายว่า เต็มใจ หรือ ตั้งใจ
            แต่ถ้าเป็นกริยาช่วย จะให้ความหมายว่า จะ....
            หากใช้เป็นคำนาม จะให้ความหมายว่า ความตั้งใจ

      Desert 
            หากใช้เป็นกริยา จะให้ความหมายว่า ทิ้ง
            หากใช้เป็นคำนาม จะให้ความหมายว่า ทะเลทราย
            แต่ถ้าเป็นคุณศัพท์ จะมีความหมายว่า รกร้าง หรือ ถูกทอดทิ้ง

      Sentence
            หากใช้เป็นกริยา จะให้ความหมายว่า ตัดสินโทษ
            หากใช้เป็นคำนาม จะให้ความหมายว่า ประโยค

      จะเห็นว่า ความหมายบางคำ ต่างกันอย่างมาก ไม่มีความคล้ายคลึงกันเลยสักนิด

   


วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

คีโมแล้วกลับบ้าน

      คงสุดท้ายเกี่ยวกับ "คีโม" ครับ สรุปกันแบบสั้นๆ หากให้คีโมเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ เราจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี

        1. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

        2. ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

        3. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัด

        4. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ ที่ติดต่อได้ เช่น วัณโรค เป็นต้น

        5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ควรรับประทานครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้งในช่วงที่มีอาการคลื่่นไส้อาเจียน

        6. ควรดื่มน้ำไม่น้อยกว่า 2 - 3 ลิตรต่อวัน

        7. หลังการรับเคมีบำบัดประมาณ 2 สัปดาห์ ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไขกระดูก และนำผลเลือดไปให้แพทย์ดู และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

        8. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

        9. ต้องกลับมารับยาเคมีบำบัดตามแพทย์นัด และในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น มีเลือดออก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนมากๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอนัด

      จากบทควารเกี่ยวกับ "คีโม" ผมหวังว่าน่าจะเป็นข้อมูลความรู้เบื้องต้นให้กับหลายๆคนนะครับ แต่จะให้ดี ก็ขอให้ไม่มีใครเป็นเลยครับ


วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

เตรียมตัวให้คีโม

      มาว่ากันต่อเกี่ยวกับ คีโม ซึ่งสิ่งที่เราควรรู้ก็คือ ควรทำอย่างไรก่อนให้ดีโม และการปฏิบัติตัวช่วงให้คีโม

        1. ควรรับประทานอาหารที่รสไม่จัด และดื่มน้ำให้มากๆ โดยต้องไม่น้อยกว่า 2 - 3 ลิตร และต้องบำรุงร่างการให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้

        2. พักผ่อนให้เพียงพอ และฝึกทำจิตให้สงบ

        3. รับการตรวจเลือดก่อนให้ยา เพื่อดูความพร้อมของร่างกาย

        4. หากพบว่ามีฟังผุ และจำเป็นต้องรักษาฟันผุหรือเหงือกอักเสบ ควรพบทันตแพทย์ทำการรักษาก่อนทำการบำบัดด้วยเคมี หรือถ้าต้องให้เคมีในช่วงระหว่างการให้เคมี จะต้องเข้ารับการตรวจปริมาณเกล็ดเลือดด้วย

        5. ควรบ้วนปากบ่อยๆ ด้วยน้ำเกลือหรือน้ำอุ่น ก่อนและหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ปากสะอาดและเพิ่มความอยากอาหาร

        6. รับประทานอาหารก่อนรับการให้เคมีบำบัดประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง และควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนด้วย

        7. ควรนอนในท่าทางที่สบายและไม่ควรยกแขนหรือเคลื่อนไหวแขนข้างที่รับยามากเกินไป (ในกรณีที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ) ไม่ควรปรับความเร็วของการหยดของสารน้ำเองโดยเด็ดขาด หากสารน้ำหยดเร็วกว่าปกติ หรือมีอาการปวดบวม ตรงบริเวณที่ได้รับสารน้ำ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

        8. ควรแจ้งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับท่าน ในระหว่างการให้เคมีบำบัดกับแพทย์หรือพยาบาลทราบ เพื่อจะได้รับการดูแลต่อไปครับ


วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

คีโม

      จากที่น้องต้องเข้าโรงพยาบาลและแพทย์ให้ความเห็นว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นมะเร็งในภายหน้า หรือในตอนนี้ จำเป็นต้องเข้าตรวจเยอะมาก และต้องผ่าตัด ทำให้ผมเริ่มศึกษาวิธีการรักษาที่เราได้ยินกันบ่อยมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง ก็คือ "คีโม" เพราะไม่รู้ว่าผลตรวจจะออกมาในทิศทางใด จนวันนี้ผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แผลใหญ่มากครับ ซึ่งผลตรวจเซลล์มะเร็งคงจะรู้ในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้แล้ว วันนี้เลยถือโอกาสเอามาแชร์กัน

      Chemotherapy (คีโมเทอราปี) หรือที่เรียกว่า "เคมีบำบัด" และที่คนทั่วไปเรียกสั้นๆว่า "คีโม".หมายถึง การรวมสารเคมีหลายๆชนิดที่มีฤทธิ์ในการต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง เป้าหมายเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หลายรูปแบบก็ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อได้และตายลงไปในที่สุด

      สำหรับกลไกในการออกฤทธิ์ สารเคมีที่ให้ไปจะไปขัดขวางกระบวนการแบ่งเซลล์ในระยะต่างๆโดยตรง ขณะที่ยาต้านมะเร็ง เช่น ยาต้านฮอร์โมน  จะออกฤทธิ์ต้านการสร้างหรือการใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  หรือยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targetedtherapy) จะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็ง แล้วจึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในภายหลัง ซึ่งจะเห็นผลช้ากว่าการใช้ คีโม


วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

Dashboard ง่ายๆด้วย Anto

      ใน Session นี้ก็เป็นการสอนใช้ Tools ที่ทาง Anto พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองการทำ Smart System สำหรับ IoT ที่เราจะนำมาใช้ ซึ่งในบทความนี้ผมจะขอพูดเอาเฉพาะตัวอย่างที่เราจะเข้าไปใช้งานในส่วนของเครื่องมือที่ทาง Anto นำมาให้ใช้ แต่จะไม่ลงไปในส่วนของการเขียนโปรแกรมบน Raspberry Pi นะครับ

      ขั้นตอนของการใช้งานก่อนอื่น เนื่องจาก Anto เป็นการพัฒนาการจัดการในส่วนของ Web Service ที่ให้เราส่ง Require ที่ต้องการสั่งให้ Thing ทำงานไปจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆแต่ละ Chanel ด้วย Key ที่เราตั้งค่าไว้

      ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บ www.Anto.io


      ขั้นตอนที่ 2 สมัครและกรอกข้อมูลของ Account ของเรา


      ขั้นตอนที่ 3 สร้าง Thing หรือ อุปกรณ์เชื่อมต่อใดๆที่เราต้องการ ในที่นี้ก็ Raspberry Pi



      ขั้นตอนที่ 4 กดแว้นขยายเพื่อเข้าไปสร้าง Channel หรือ อุปกรณ์ที่เราต้องการสั่งงาน เช่น หลอดไฟ


      ขั้นตอนที่ 5 สร้าง Channel

      ขั้นตอนที่ 6 สร้าง Key



      จากขั้นตอนนี้ก็เป็นการเขียนโปรแกรมบน Raspberry Pi ด้วย Python ซึ่งเราต้อง Import Library "antolib"ก่อน และลักษณะการเรียกใช้เช่น anto = antolib.Anto(user , key , thing) ส่วนโปรแกรมที่เขียนบน Raspberry Pi ผมจะไม่ลงรายละเอียดใน Blog นี้นะครับ แต่จะให้ดูส่วนการทำ Dashboard และจะให้เห็นว่า เมื่อเราส่ง Parameter ผ่าน Library ก็จะทำให้ค่าของ Channel นั้นเปลี่ยนไป ส่งผลให้ Dashboard เปลี่ยนสถานนะไปตามที่เรากำหนด การสร้าง Dashboard ก็ทำได้ดังนี้ครับ

      Click ที่ Dashboard แล้วก็คลิ๊ก + Add New Widget จะมีรูปแบบ Widget ต่างๆให้เลือกกัน




     สำหรับตัวอย่างผมจะเพิ่ม Widget ที่เป็นหลอดไฟ เพื่อที่จะทดลองเปิดปิดจาก Channel ตามนี้ครับ



      เมื่อเปลี่ยนสถานะจากปิดเป็นเปิด หลอดไฟที่ Widget จะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเขียว ตามที่เราตั้งไว้
ซึ่งหากเราเขียนโปรแกรมที่ Raspberry Pi ส่งค่าเปิด ปิด มาทาง Channel ไฟ้ที่อยู่บน Widget ก็เปิด ปิด ได้ตามนั้น เช่นเดียวกัน หากเราต่อให้ไปสั่งอุปกรณ์เปิด ปิดไฟ ก็จะได้ผลเช่นเดียวกันครับ



วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

Bankok Raspberry Jam

      จากที่ผ่านมา ก็ได้รู้จักและได้เขียนโปรแกรมบน Raspberry Pi ไปบ้างแล้ว และก็ได้มีโอกาสได้เปิดหู  เปิดตาเกี่ยวกับงาน Meetup หรืองานพบปะของผู้ใช้งาน Raspberry Pi จากพี่อุ่น เมื่อวันที่ 11/03/2017 และได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ใหม่ที่พามาครับ


      บรรยากาศงานนี้ก็เป็นเหมือนงานขายของเกี่ยวกับที่มีการจัดแชร์ความรู้แบบ Workshop ร่วมด้วย ประกอบกับมีการจัดโชว์ผลงานของ Raspberry Pi ของหลายๆท่าน หลายๆองค์กร ซึ่งภายในงานก็จัดแบบเรียบงาย เป็นกันเอง แต่ละร้านก็มีจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า เช่น Raspberry Pi 3 ในงานราคาถูกสุดก็ 1,4xx บาท. ผมจำชื่อร้านไม่ได้


      แถมมีเอาเจ้า Raspberry Pi Zero มาให้ชมตัวจริงสำหรับใครที่ไม่เคยเห็น เพราะพระเอกเป็นตัวที่หาซื้อยากมาก ราคากับค่าจัดส่งแทบจะเท่ากันเลยทีเดียว ไม่รู้ทำไมในภูมิภาคเราถึงหายาก ต้องข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกถึงมีขาย


      ผลงานที่นำมาแสดงอย่างตู้เกมส์ที่เป็นเกมส์ตู้หยอดเหรียญก็มี พี่ใหม่นึกสนุกไปลองเล่น Street Fighter มาด้วย ผลเป็นไงไม่ขอบอกตรงนี้นะ 555


      อย่างผลงานนี้นี้ก็เป็นกล้องจุลทัศท์ที่ใช้ Raspberry Pi นำภาพที่ไดออกมาแสดงที่จอมอนิเตอร์


      มีการนำ Raspberry Pi. มาต่อกับเซ็นเซอร์ แล้วเอาผลมาแสดงที่ LeafHAT ด้วย


      ก็เอาบรรยากาศมาฝากกันพอสังเขปตามนี้แล้วกันนะ


วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักการกำเนิดกระแสไฟฟ้า (ต่อ)

      ไฟฟ้ากระแสสลับ คือไฟฟ้าที่มีการสลับขั้วบวกเป็นลบ จากลบเป็นบวกอยู่ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแหล่งกำเนิดก็เช่น เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ

      ไฟฟ้ากระแสสลับเองก็มีแบ่งประเภทเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัน

           1. ไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 1 เฟส คือ กระแสไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ตามบ้าน ใช้สาย 2 สาย มีไฟและไม่มีไฟ แรงดันที่จ่ายมาในสายคือ 220 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ 


           2. ไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 3 แบบ คือ กระแสไฟฟ้าที่ใช้ตามโรงงาน จะมีสายที่จ่ายไฟมา 3 สาย ซึ่งไม่สามารถใช้แทนไฟบ้าน เพราะแรงดันที่จ่ายมานั้นอยู่ที่ 380 โวล์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ 


วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักการกำเนิดกระแสไฟฟ้า

      เมื่อเช้าได้อ่าน Blog ของพี่ใหม่ เลยมีความคิดว่า หลักการเกิดไฟฟ้า เราเองก็ลืมไปละ ก่อนที่จะเข้าใจว่ามันกำเนิดได้อย่างไร ด้วยหลักการง่ายๆ เราต้องรู้ก่อนว่าไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ

      ไฟฟ้ากระแสตรงก็คือ ไฟฟ้าที่เป็นเส้นตรง เอ๊ย!! ไม่ช่าย!! เป็นไฟฟ้าที่มีลักษณะการไหลจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำกระแสไหลเข้าสู่วงจรทางไฟฟ้า แล้วไหลวนกลับมายังแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบ และไม่สามารถไหลย้อนทางจากขั้วลบไปขั้วบวกได้ จึงเรียกว่าไฟฟ้ากระแสตรง   แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงก็เช่น ถ่านไฟฉาย , เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ , แบตเตอรี่ , ไดนาโม เป็นต้น

       ไฟฟ้ากระแสตรงก็ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย

           1. ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทสม่ำเสมอ (Steady D.C.) กระแสจะไหลด้วยแรงดันสม่ำเสมอเท่ากันตลอดเวลา แหล่งกำเนิด เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เป็นต้น



           2. ไฟฟ้ากระแสตรงประเภทไม่สม่ำเสมอ (Pulsating D.C.) กระแสจะไหลเป็นช่วงคลื่นที่ไม่สม่ำเสมอกันคือมีบวกและมีศูนย์ แหล่งกำเนิด เช่น ไดนาโม เป็นต้น









วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ไฟฟ้าสถิต

      จากที่ผ่านมา เราเจออันตรายจากไฟฟ้าสถิตในไลน์การผลิตหลายครั้ง และช่วงนี้ก็มีโปรเจ็คเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าบ่อยครั้ง จึงคิดว่าเราเองบางครั้งก็เสี่ยงเจอไฟฟ้าสถิตนะ แล้วเรามีวิธีป้องกันแบบง่ายๆอย่างไรบ้างล่ะ

      ไฟฟ้าสถิต (Static Electricity) จริงแล้วร่างกายมนุษย์เป็นตัวที่ทำให้เกิดศักย์ประจุไฟฟ้าสถิตได้อยู่แล้ว ซึ่งในการทำงานกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์นั้น หากเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ก็จะเป็นตัวกระตุ้นทำลายอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้ และหากประจุที่เกิดมากเกินก็อาจจะเป็นอันตรายกับเราได้ด้วย  ดังนั้นการจัดการก็คือ เราต้องคายประจุที่อยู่ในตัวเราออก ด้วยการสวมอุปกรณ์ที่มีการถ่ายเทประจุได้คล่อง เช่นรองเท้า ปกติเราจะนึกถึงแค่ต้องเป็นรองเท้าที่มียาง มีฉนวน เพื่อป้องกันไฟดูด แต่ถ้าสำหรับคายประจุไฟฟ้าออกจากตัวเราแล้วต้องตรงกันข้ามกัน สวมสายคล้องข้อมือเพื่อถ่ายประจุ การเพิ่มความชื้นให้ผิวหนังหรือให้อากาศบริเวณนั้น เป็นต้น

      ภายในอาคารเอง หากมีการสะสมของประจุมากเกิน ก็สามารถลดได้ด้วยการเปิดหน้าต่าง เพิ่มความชื้น อะไรทำนองนี้ได้เช่นกัน



วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

Noise Signal ปัญหาที่ยังต้องเจอ

      โอ๊ยๆ Noise ยังก่อกวนไม่จบ แก้ไขด้วยการทดลองเดินสายให้หลีกหนีแล้วนะ แต่ก็ยังมีบางจังหวะที่ GPIO ถูก ทริคเองอยู่เลย แล้ว Noise ที่ว่านี้มันเป็นยังไงกันนะ ทำไมถึงทำให้สัญญาณที่ Raspberry Pi ถูกทริคได้นะ

      Noise จริงแล้วมันเป็นสัญญาณลูกคลื่นในลักษณะของกระแสสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำที่ผ่านเข้ามาในสายสัญญาณของเราทำให้มันมีค่าหรือรูปลูกคลื่นที่แตกต่างออกไป  จนวงจรตัดสินใจว่าเป็น 1 หรือ 0 ไม่สามารถบอกได้ว่าในตอนนี้เป็นค่า 1หรือ 0 ดูตัวอย่างได้ตามรูปครับ




ANDON ไม่ใช่กระด้ง

      เมื่อถามถึง Andon (อันด้ง) ไม่ใช่ กระด้ง หลายคนคงไม่รู้จัก แต่ถ้าถามถึง Lean หรือ TPS  คงเป็นที่รู้จักกันดี Andon เมื่อแปลตามศัพท์ภาษาญี่ปุ่นแล้ว แปลว่า ดวงไฟ ซึ่งคนไทยก็เอามาเรียกทับศัพท์คนญี่ปุ่น

      Andon ชื่อก็ว่าเป็นดวงไฟ แล้วมันสำคัญอย่างไร เกี่ยวกับ Lean หรือ TPS อย่างไรล่ะ? ก็ไมีมีอะไรมากครับ จริงแล้วมันเป็นหนึ่งในเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งของ Toyota System มันเองคือไฟครับ ไฟที่บ่งบอกสถานการณ์ของเครื่องจักรหรือการผลิตในขณะนั้นครับ ซึ่งก็มีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่ที่เรารู้จักกันดี ก็ไอ้ที่เป็นแท่งกระบอกไฟสีเขียว เหลือง แดง นั่นแหล่ะ 

      Andon เองมันก็เป็นเพียงสถานะ ซึ่งต้องใช้ควบคู่กับการทำงานอีกส่วนหนึ่งนั่นก็คือ หยุด เรียก รอ เมื่อรวมกันกับ Andon ก็จะครบตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ของ Toyota System ที่ว่า การทำงานจะต้องลื่นไหลและมองเห็นสถานการณ์การผลิตได้อย่างง่าย (Virtual Check) เพราะถ้าเครื่องจักรมีปัญา เจ้าไฟก็จะติดเป็นสีแดง พนักงานก็จะรู้ว่าเครื่องจักรมีปัญหา ก็ต้องหยุดการทำงาน แล้วเรียกหัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อทำการแก้ไข และรอจนกว่าจะแก้ไขเสร็จ ไฟก็จะกลับสู่สถานะสียเขียวตามปกติ 
อ้าวแล้วสีเหลืองล่ะ มันคืออะไร ในระบบหรือเครื่องจักรบางเครื่องมันสามารถบอกเราด้วยไฟสีเหลือง ว่าถึงเวลาหรือพบปัญหาแต่ยังพอดำเนินการต่อได้ หรือเครื่องจักรหยุดชั่วคราวแต่ไม่เสีย แต่บางที่หรือบางเครื่องจักรก็อาจจะใช้เป็นแบบป้ายบอกสถานะไปเลยด้วยการกดเลือกปัญหาของเครื่องจักรจากพนักงาน เมื่อผู้ดูแลไลน์การผลิตเห็น ก็สามารถรู้ปัญหาเบื้องต้นได้ 



วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

RS485 Network Wiring

      เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา มีโอกาสได้เข้าไปฟัง Supplier เข้ามานำเสนอระบบ Machine Downtime ซึ่งก็มีอุปกรณ์เป็นลักษณะของ Microcontroller ที่พัฒนาบอร์อขึ้นมาเอง ทีแรกดูหน้าตาคล้ายกับ PLC ก็ได้มีการสอบถามการทำงาน และการส่งต่อข้อมูล มาสะดุดนิดนึงตรงการสื่อสารด้วย RS485

      ผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวอะไรกับเรื่อง Network สมัยเรียนก็งู ปลา งู ปลา แต่แล้วก็เจอเรื่องที่เอ???? จำได้รางๆว่าเคยผ่านมาบ้างเกียวกับคำๆนี้ แล้วยังไงล่ะ ก็รื้อฟื้นกันหน่อยสิ

      RS485 จริงแล้วก็เป็นการสื่อสารแบบ Serial ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของ RS232 ที่ถูก Noise รบกวนได้ง่าย RS485 จึงทำเป็นสายตีเกลียวและมี Shield ป้องกันการถูกรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าได้ง่าย และมีการเปลี่ยนจากการเทียบสัญญาณด้วย GND มาเป็นการเทียบกันระหว่างสาย 2 เส้น ด้วย "0" และ "1" และใช้การรับส่งสัญญาณแบบ Half Duplex

      RS485 จะมี Master 1 ตัวเพื่อใช้ในการจัดคิวการสื่อสารและบันทึกข้อมูลเก็บ แล้วก็จะมีการต่อปิดท้ายและต่อพ่วงออกไประหว่างกลางเพื่อใช้งาน ซึ่งจะเรียกว่า Slave หรือ Node ซึ่งแต่ละ Node ก็จะมี IP Address ของมัน เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกัน และเนื่องจากมันเป็นการรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Half Duplex มันจะส่งข้อมูลได้ทีละโหนด คือถ้าโหนดแรกส่ง โหนดอื่นจะรับและ โหนดสองจะส่งได้ก็ต่อเมื่อโหนดแรกส่งแสร็จแล้ว และโหนดแรกเปลี่ยนสถานะเป็นรับแล้ว โหนดสองจึงจะส่งได้

      ก็คร่าวๆครับ สำหรับเจ้า RS485 ก็ประมาณนี้