วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

Raspberry Pi แต่ละรุ่น (1)

      จาก Blog ที่ผ่านมา ผมจะนำสเปคของแต่ละรุ่นมาเล่าให้ฟังกันนะครับ

      1. Raspberry Pi Model B
Related image


              Model นี้เป็นรุ่นแรกที่นำออกมาวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ใช้ CPU รุ่น BCM2835 เป็นชิปแบบ ARM11 (ARM1176JZF-S) ความเร็วที่ 700 MHz ใช้หน่วยประมวลผลจอภาพรวมอยู่ในตัวเดียวกัน และใช้หน่วยความจำขนาด 256 MB และ 512 MB มี USB Port 2.0 จำนวน 2 Ports พร้อมด้วย แจ๊ก RCA และ HDMI กับช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5mm.มี GPIO เป็นจุดต่ออุปกรณ์ภายนอก (ผมไม่แน่ใจจำนวนขา ว่ามีกี่ขากันแน่) และรุ่นนี้มีช่องสำหรับเสียบ SD การ์ด ที่ลงระบบปฏิบัติการแล้ว

      2. Raspberry Pi Model A



              บอร์ดรุ่นนี้ เป็นบอร์ดที่ออกมาเพื่อลดต้นทุนในการผลิตด้วยการลดอุปกรณ์บางอย่างลง แต่ยังคงใช้ CPU ตัวเดิม หน่วยความจำที่ 512 MB ซึ่งสิ่งที่ต่างจากรุ่น B คือ USB Port ลงลงเหลือ 1 Port 
และไม่มีช่องต่อสาย LAN ส่วนแจ๊ก RCA , HDMI , ช่องเสียบหูฟัง ยังคงเดิมครับ (เหมือนรุ่น B)

      3. Raspberry Pi Model B+



              CPU ยังคงใช้รุ่น BCM2835 แต่หน่วยความจำเหลือแค่รุ่นเดียวคือ 512 MB มีส่วนที่เพิ่มจาก Model B บางอย่าง คือ เพิ่มให้มี USB เป็น 4 Ports รวมแจ๊ก RCA เข้ากับช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 mm. กลายเป็นแจ๊ก AV และเพิ่มขาของ GPIO เป็น 40 ขา ส่วนช่องเสียบ SD Card ก็ปรับให้เป็นแบบ Micro SD เพื่อรองรับกับ SD Card ที่มีขนาดความจุมากขึ้นได้

      4. Raspberry Pi Model A+


                                          Image result for Raspberry Pi Model A+

              คล้ายกับรุ่น Model A แต่แทนที่จะลดอุปกรณ์บางตัว กลับใช้วิธีการออกแบบวงจรใหม่ ทำให้บอร์ดมีขนาดเล็กลง และเหลือ USB เพียงแค่ 1 Port และยังคงไม่มีช่องต่อ LAN

      5. Raspberry Pi Compute Module


Image result for Raspberry Pi Compute Module

              ในรุ่นนี้ได้ทำการตัดส่วนของหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ต่างๆ ออกเป็น Module ต่างๆ แยกจากกัน แต่ยังคงใช้ CPU เป็น BCM2835 และ แรมที่ 512 MB แต่มีหน่วยความจำแบบแฟรช 4 GB

      ส่วนที่เหลืออีก 2 รุ่น ไว้จะมาเล่าต่อนะว่ามันเป็นอย่างไรกันบ้าง


วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

Raspberry Pi อีกอุปกรณ์ที่น่าสนใจ

      จริงแล้วก็มาจากงานที่ต้องทำร่วมกับพี่ใหม่ครับ ผมเองก็เพิ่งจะรู้ว่ามีอุปกรณ์แบบนี้อยู่ มันน่าสนใจไม่น้อยเลยครับ กับเจ้า Raspberry Pi 



      Raspberry Pi ทำอะไรได้บ้าง?  คำตอบคือ อะไรที่ Computer ใหญ่ๆทำได้ Raspberry Pi ก็ทำได้ นี่เป็นคำบอกของผู้พัฒนา ซึ่ง Raspberry Pi เป็น Computer ที่มีขนาดเล็ก บนระบบปฏิบัติการ Linux และ มี Port (GPIO) ที่ให้เราได้ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ภายนอกได้ มันจึงยืดหยุ่นมากในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมสั่งการมัน ตัวอย่างการนำไปใช้งานก็หลากหลาย เช่น

              1. อ่านค่าจาก Sensor ต่างๆแล้วนำเก็บเข้า Database ได้เลย
              2. นำไปพัฒนาเป็นระบบสมองกลฝังตัวในงานต่าง หรือทำหุ่นยนต์
              3. นำไปใช้งานในด้าน Media Player ราคาประหยัด ที่ให้ความละเอียดของภาพในระดับ HD ด้วยการต่อจาก HDMI Port  หรือจะนำไปทำเป็น Smart TV ที่ใช้ต่อกับ Internet ความเร็วสูงเพื่อใช้ในการต่อ Internet  ไม่ว่าจะเป็นการท่องเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง
              4. นำไปใช้ในการควบคุม ตรวจจับด้วย Sensor ต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกสบายภายในบ้านก็ได้

       แล้ว Raspberry มีกี่รุ่น? เท่าที่ผมรู้นะครับ มี 8 Models

              1. Raspberry Pi Model B
              2. Raspberry Pi Model A
              3. Raspberry Pi Model B+
              4. Raspberry Pi Model A+
              5. Raspberry Pi Computer Modul
              6. Raspberry Pi 2
              7. Raspberry Pi Zero
              8. Raspberry Pi 3

      แต่ละ Model แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมคงยังไม่พูดถึงในตอนนี้ แต่ผมจะพูดถึงแค่รุ่นเดียวที่พี่ใหม่ แนะนำให้ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานของเราครับ คือ Raspberry Pi 3

      จุดเด่นของ Raspberry Pi 3 รุ่นนี้ (ก็ไม่รู้ว่ามันใหม่สุดจริงหรือไม่นะครับ) มีการวางสถาปัตยกรรมไว้ให้ประมวลผลด้วย CPU แบบ ARM มีสเปคตามนี้ครับ

              1. ระบบประมวลผล                         :  ARM CORTEX 64 bit 1.2 GHz.
              2. หน่วยความจำ                             :  1 GB LPDDR2
              3. หน่วยประมวลผลด้านกราฟฟิก   :  Broadcom Video Core IV dual-core (HDMI)
              4. ระบบสื่อสารข้อมูล                      :  Wifi , LAN (Ethernet 10/100) , Bluetooth4
              5. Port ต่างๆ                                  

      • USB 2.0 จำนวน 4 Ports
      • แจ๊ก AV ที่รวม Out Put เสียงและภาพไว้ด้วยกันเป็น
      • แจ๊กหูฟังขนาด 3.5 mm. 
      • Connector Micro SD เพื่อใช้ต่อไฟเลี้ยง
      • Socket Micro SD Card ใช้ต่อกับ SD Card ที่ลงระบบปฏิบัติการแล้ว
      • GPIO 40 Pin ใช้ต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายนอก 
      • HDMI Port 
      • จุดต่อจอภาพแบบ DSI สำหรับต่อเข้ากับกล้อง




     

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

หลักการ 5G เพื่อพัฒนางาน

      จากบทความก่อนหน้า ผมได้พูดเรื่องหลัก 3Gen จากตรงนั้น เราสามารถวิเคราะห์อะไรต่างๆได้ตรงจุดก็จริง แต่การที่จะให้การทำงานนั้นหรือการพัฒนานั้นเกิด คุณภาพของการพัฒนา หรือ มูลค่าเพิ่ม(Value Added) เราจำเป็นต้องมี หลัก 2G เพิ่มเติม จึงจะเกิดขึ้นได้ ตามแนวคิดของ โทโมโซ โกบาตะ.

      จากการที่เราหลายๆคนใช้หลักการ 3G มาช่วยในการวิเคาะห์ แก้ไขและพัฒนาด้านต่างๆแล้ว นอกจาก GENBA , GENBUTSU , GENJITSU ที่เพิ่มมาคือ หลักการทางทฤษฎี (GENRI) และระเบียบกฏเกณฑ์การปฏิบัติ (GENSOKU) หรือระเบียบข้อบังคับพื้นฐานมาร่มกับ 3G แล้วล่ะก็ เราก็สามารถที่จะพัฒนางานที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มได้อย่างแน่นอน

      ในการพัฒนาให้เกิด มูลค่าเพิ่มของงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องนำหลักทฤษฎี (GENRI) เข้ามาปิดสมมุติฐานที่ได้จากหน้างานจริง ของจริง และสถานะการณ์จริงแล้ว ว่าด้วยกระบวนการคิด ทดลองทางวิทยาศาสตร์และสถิติ ตามข้อมูที่ได้วิจัยเพื่อให้เกิดการยอมรับและมั่นใจว่ามันเป็นจริงตามสมุติฐานนั้น

      แต่การที่เราได้ทดลอง วิจัย สรุปผลแล้วเลือกที่จะปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะเกิดผลติดลบหรือผลเสียอย่างใหญ่หลวงก็ได้ ถ้าวิธีการที่เราได้เลือกและวางแผนนั้นผิดไปจากกฏระเบียบของโรงงานหรือผิกกฏหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น GENSOKU จึงเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญอีกหลักหนึ่ง ระเบียบพื้นฐานของเรา ที่หลายคนอาจหลงลืมคิดคำนึงถึงไปได้ ดังนั้นเราจึงควรจะยึดแนวทางปฏิบัติตามหลัก 5G อย่างเคร่งครัด เมื่อต้องคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา ปรับกระบวนการทำงาน หรือปรับปรุงระบบใดๆทุกครั้ง

3G เพื่อการพัฒนา

      จากที่เราเจอปัญหาหลายๆเรื่อง หลายคนพยายามที่คิดและวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา บ้างก็ได้รับอิทธิพลความคิดมาจากการปลูกฝังของหัวหน้างานชาวญี่ปุ่น ให้เราคิดแบบเค้า บ้างก็แก้มันตามความคิดของตน ประสบการณ์ หรือจากการบอกเล่าและคำขอของผู้ใช้งาน

      3G หรือ 3Gen (3เก็ง) เป็นแนวคิด ปฏิบัติของคนญี่ปุ่นที่นำมาเป็นมาตรฐานในการสร้าง พัฒนาและแก้ไขปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรม หลักการนี้ไม่ได้มีเทคโนโลยี หรือเงื่อนไขอะไรใหม่ๆมากมาย แต่เป็นหลักการที่เราๆหลายๆคนรู้และปฏิบัติ อย่างคำพูดที่ว่า "ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย" ดังนั้น 3G ก็อยู่บนบรรทัดฐานความจริง 3 ประการ คือ

              1. GENBA = สถานที่จริง
              2. GENBUTSUของจริง
              3. GENJITSU = สถานการณ์จริง

      การที่เราต้องคิดหาสาเหตุที่แท้จริงและตัดสินใจเพื่อหาวิธการแก้ปัญหา เราจะต้องไปยังสถานที่จริงเพื่อจะได้เห็นสภาพแวดล้อมและสภาพของปัญหา โดยใช้ข้อมูลจริงที่ได้ในสถานที่จริง และวิธีการหรือพฤติกรรมที่ใช้จริงก็คือสถานการณ์จริง เราก็จะแก้ไขปัญกานั้นได้ตรงจุดและถาวรมากที่สุด

      คนส่วนใหญ่มักจะคิดทึกทักเอาเองถึงสิ่งที่คิดว่าน่าจะ...  หรืออันนี้ก็จำได้ว่าเคยเกิดไปแล้วนะ คิดไปต่างๆนาๆ โดยที่ไม่ได้เอาข้อเท็จจริงมาพูดคุย วิเคราะห์หาสาเหตุ ปัญหาจึงถูกแก้แค่ผ่านไป แล้วก็กลับมาเกิดอีก เราลองเอาหลักการนี้ไปใช้ดูกันนะครับ

   

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

อุตสาหกรรม 4.0 (ต่อ) องค์ประกอบที่ 4 Internet Of Things


      Internet of Things หรือ IOT ที่ว่านี้มันคืออะไร จากที่ผมเข้าใจ ผมรู้แค่ว่ามันถูกนำมาใช้กับการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน พวกกล้องที่ส่งภาพผ่าน IP
การถ่ายภาพโดยใช้โดรนที่ส่งข้อมูลแบบ Realtime ด้วยการส่งผ่าน Wifi หรือ Wiless หรือแม้กระทั่งการนำเอามาใช้ในการส่งสัญญาขอความช่วยเหลือ และการติดตาม

"แล้วมันเอามาใช้ในอุตสาหกรรมตรงไหนล่ะ??"

      การนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมนั้น เราจะอาศัยการเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างคน ข้อมูล และเครื่องจักร ด้วยการนำข้อมูลทั้งหลายที่ได้จากการเก็บข้อมูลจาก Sensor
ต่างๆที่ใช้ตรวจวัดค่าของชิ้นงานและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาทำการวิเคราะห์ เพื่อเพื่มอำนาจในการจัดการและตัดสินใจและมีความแม่นยำสูงขึ้นกว่าเก่า

     ปัจจุบัน ในด้านการพัฒนา Sensor ต่างๆ ก็มีความแม่นยำสูง แต่ราคาไม่แพงนัก รวมไปจนถึง Controlor Board ในสมัยนี้ก็มีสมรรถนะที่สูงเกือบเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ เลยก็ว่าได้ แต่ราคาถูกมาก มีราคาตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันบาท เช่น Arduino มีราคาเพียงร้อยกว่าบาทก็สามารถหาซื้อได้แล้ว ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ได้คุยกับน้าชายว่ามีโครงการที่จะนำ Arduino มาทำระบบรดน้ำอัตโนมัติ เพราะเค้าไม่ค่อยอยู่บ้านด้วยการสั่งผ่าน Internet และอาจจะเพิ่ม Sensor เพื่อให้ทำงานเอง โดยไม่ต้องสั่งการในอนาคต

      พอมาถึงตรงนี้ แล้วอุตสาหกรรมล่ะ ใช้กับอะไรได้บ้าง? ผมขอยกตัวอย่างโครงการที่ผมกับลูกพี่ผมกำลังมีโครงการพัฒนา ด้วยการนำ Sensor มาใช้ในการตรวจจับการทำงาน แล้วส่งผ่านทางคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (จริงๆแล้วตามความคิดผมว่ามันเป็น Controlor Single Board ที่มีสถาปัตยกรรมเกือบเทียบเท่า Computer หรือเรียกได้ว่าเป็น Mini Computer)
      เพื่อนำค่านั้นไปจัดเก็บในฐานข้อมูลและคำนวนค่าบางอย่างแล้วนำไปแสดงบนหน้าจอหน้าเครื่องจักรที่พนักงานทำงาน ในขณะเดียวกัน ข้อมูลที่จัดเก็บได้จาก Sensor ก็ถูกประมวลผลรวบรวม
เป็น Report เพื่อให้ผู้บริหารใช้ดูพฤติกรรมการผลิตได้ (Realtime) นำไปสู่การวิเคราะห์และปรับปรุงได้ง่ายและแม่นยำกว่าการใช้คนจับและจัดเก็บข้อมูล จากที่พูดมาจะเห็นว่า เราได้นำระบบการติดต่อสื่อสาร ผ่าน LAN และ Wiless มาใช้ เพื่อเชื่อมทั้งคน ข้อมูล และเครื่องจักร ให้ได้มาซึ่งข้อมูลทีมีความแม่นยำ
จากจุดนี้ เราจะเห็นได้ว่า ในยุค 4.0 เราสามารถเชื่อมกันได้มากขึ้น ในอนาคต การผลิตอาจจะสามารถผลิตสินค้าได้จากการสั่งการผ่านทาง Internet เพื่อให้ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น



วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

เพิ่มกระบวนการหรือปรับปรุงโปรแกรมดีกว่ากัน

       มีน้องมาถามเรื่องอยากปรับปรุงกระบวนการควบคุมบางอย่าง ด้วยการเพิ่มการทำงาน
เข้าไป เป้าหมายเพื่อลด WIP Stock ของไลน์

       ผมเลยถามกลับไปว่า สิ่งที่คิดว่าจะทำด้วยการเพิ่มการควบคุมนั้น

              1. ได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุมาอย่างไรบ้าง? 
              2. แล้วพฤติกรรมการทำงานกับระบบเดิมทำอย่างไร? 
              3. สาเหตุที่มีสต็อคเยอะเกิดจากกระบวนการไหน? 

       ปรากฏว่าข้อมูลที่น้องมี มันยังไม่สามารถตอบได้เลยว่า สาเหตุหลักคืออะไร เลยนึกได้ว่าน้องคงลืมนึกถึงหลักการ PDCA จึงแนะกลับไปถึงหลักการวิเคราะห์ เพราะจริงแล้วจุดงานนั้นมีโปรแกรมหรือระบบเดิมที่ใช้อยู่ เพียงแค่ข้อมูลที่นำมาเลือกวิธีการแก้ไขมันยังไม่เพียงพอว่าจะทำอย่างไร ซึ่งบางทีการเพิ่มกระบวนการที่ควบคุมหรือตัดสินใจด้วยคนเยอะเกิน ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีหรือบางครั้งการที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อควบคุมจนลืมนึกถึงกระบวนการและความจำเป็นหน้างานก็ยากที่จะสำเร็จ คนเป็นตัวแปรที่ควบคุมยากที่สุดนะ(ผมว่า) ซึ่งการที่เราจะสามารถทำการแก้ไขปรับปรุงปัญหานั้นให้สำเร็จได้ จำเป็นต้องปรับปรุงทั้ง 3 ส่วน ให้สอดคล้องรับกันได้ตรงจุด

       จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา หาปัญหาที่ส่งผลต่อเป้าหมายที่เรากำลังโฟกัส แล้วหาวิธีการแก้ไข จัดทำแผนเพื่อดำเนินการ จากนั้นลงมือทำมันเลยครับ ในระหว่างนั้น หรือจบการปรับปรุงเราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นไปตามที่เราวางแผนหรือไม่ แล้วกำหนด KPI เพื่อดูว่าปัญหาที่เราจะแก้ มันลดลงจริงหรือ?

       ถ้ามันไม่สามารถบรรลุผลเพราะยังมีปัญหาใหม่หรือปัญหาอื่นมาส่งผลกระทบอีก ให้วนกลับไปรวบรวมข้อมูล จนวนกลับมาเช็คผล เมื่อได้ตามเป้าหมาย ก็ทำการขยายผลครับ

       จากคำถามและการพูดคุยกัน ผมแนะให้น้องลองไปทำตามดูก่อน เพราะผมไม่เห็นความจำเป็นที่จะให้คนมาคอยเช็คในหลายๆจุด เพราะถ้าคนถูกเปลี่ยนหรือหลงลืม ก็เกิดปัญหาอีกอยู่ดี แต่ถ้าปรับทั้ง 3 ส่วนไปพร้อมๆกันน่าจะดีกว่าไม่น่าจะต้องใช้คนมาคอยเช็คถึง 10 กว่าคน โดยใช้ความเก๋าเกมส์เพียงเท่านั้น ควรทำมันให้เป็นระบบ เมื่อมีการถ่ายงาน คนที่มาแทนที่ควรทำงานนั้นได้ในเวลาอันสั้นและเกิดผลสำเร็จเหมือนๆเดิม นั่นแหล่ะถึงจะดีที่สุด




วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

ลักษณะการเข้าถึง file ต่างๆของ Linux


       จากโปรเจ็คที่ต้องปรับปรุง Line ผลิต จึงต้องเอาเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ แถมระบบปฏิบัติการเป็น Linux ไอ้เราก็อ่อนด้อยในเรื่องนี้ซะด้วยสิ วันนี้ก็เลยนั่งทบทวนความรู้เดิมหน่อย พร้อมอ่าน Code ของพี่ใหม่ที่ตั้งต้นไว้ให้ เลยเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่แล้วกันนะ เกี่ยวกับโครงสร้างและการเข้าถึง File ต่างๆ ของ Linux

       ลักษณะการเก็บไฟล์ต่างๆใน Linux จะเป็นแบบ tree หรือโครงสร้างต้นไม้ ซึ่งจะมีการเรียงกันด้วยไฟล์หลายประเภท ดังนี้

1. Directory  ใช้เป็นที่เก็บรายการของไฟล์ต่าง หรืออาจจะมี directory ย่อยอีกก็ได้ ซึ่งสามารถดูได้ตรงส่วนของประเภทและสิทธิ์
     เช่น   drw-r--r--

2. Regular files  เป็นไฟล์ใช้งานปกติทั่วไป ชนิดของประเภทจะเป็น "-"
     เช่น   -rw-r--r--

3. Special files หรือ Device file  เป็นไฟล์ที่นำมาใช้งานในกรณีพิเศษต่าง ส่วนมากใช้ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เก็บใน /dev
      เช่น   crw-r--r--
               brw-r--r--

4. Link files  เป็นไฟล์ที่ใช้ในการอ้างอิงไปยังไฟล์ต่างๆในระบบ โดยที่ข้อมูลไม่ได้เก็บที่ไฟล์นี้
      เช่น   lrw-r--r--

5. Sockets  เป็นไฟล์ชนิดพิเศษเพื่อให้ระบบใช้สำหรับควบคุมงานหรือข้อมูลบางอย่าง
      เช่น   srw-r--r--

6. Named pipes  ลักษณะคล้ายกับ sockets ใช้ในตอนแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง process
      เช่น   prw-r--r--

ลักษณะการกำหนดสิทธิ์ของไฟล์ชนิดต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้



สามารถใชคำสั่ง chmod ในการกำหนดสิทธิ์ได้  เช่น   chmod 755 <file name>

การที่เราจะเข้าถึงไฟล์ต่างๆ เราต้องระบุที่อยู่ของไฟล์นั้นๆตามลำดับของโครงสร้างแบบต้นไม้ ดังนี้
       1. ใช้คำสั่ง cd แล้วตามด้วยที่เก็บของไฟล์เพื่อเข้าถึง directory ที่เก็บไฟล์
                 เช่น    cd /home/angsuchawal
       2. ใช้คำสั่งเพื่อเปิดไฟล์ผ่านโปรแกรม อาทิเช่น vi
                 เช่น  sudo vi /etc/network/interfaces
       3. ใช้คำสั่งเพื่อให้แสดงข้อมูลในไฟล์โดยไม่ต้องเปิดไฟล์ผ่านโปรแกรม vi ด้วยคำสั่ง cat
                 เช่น  cat /etc/network/interfaces





วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

อุตสาหกรรม 4.0 (ต่อ) องค์ประกอบที่ 3 การบูรณาการระบบต่างๆเข้าด้วยกัน (System Integration)

       ความหมายคำว่า “บูรณาการ” ว่าคือ การรวมสิ่งต่าง ๆ ไว้ด้วย กันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด หรือทำให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหรือระบบ



       การบูรณาการระบบต่างๆเข้าด้วยกัน (System Integration) เป็นการนำเอาระบบต่างๆ มาประสานกันให้กลมกลืน ผสมกันเพื่อให้เกิดเป็นระบบที่มีองค์ประกอบด้วยระบบย่อยด้านต่างๆจากระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นระบบใหม่ ที่เกิดจากการสร้างระบบย่อยๆมารวมกันเป็นระบบใหม่ที่สามารถตอบสนองการทำงานด้านต่างๆ ได้หลากหลายและสมบูรณ์มากที่สุด

       การบูรณาการแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ

              1. กระบวนการบูรณาการที่เกิดขึ้นอาจมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน โดยอาจเป็นการ
ประสานงานตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือเป็นการรวมตัวแบบสุ่ม (random blending)

              2. การบูรณาการเกิดขึ้นโดยไม่มีลำดับความสำคัญ

              3. การบูรณาการอาจ หมายถึง การรวมของหลาย ๆ ส่วน เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือการรวมของส่วนหนึ่งเข้ากับหน่วยใหญ่ที่มีอยู่เดิมก็ได้



วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

อุตสาหกรรม 4.0 (ต่อ) องค์ประกอบที่ 2 การสร้างแบบจำลอง (Simulation)

       การสร้างแบบจำลอง (Simulation) ในปัจจุบันใครจะนึกมาก่อนว่าจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้ด้วยการพิมพ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น แทนการเขียนแบบ หาวิธีทำงานขึ้นมาด้วยกระบวนการอันซับซ้อนหลายขั้นตอนกว่าจะได้ชิ้นงาน
       ในวันนี้ผมจะพูดถึงองค์ประกอบที่สอง ด้วยเรื่องการพิมพ์ 3 มิติ มาดูกันว่า มันคืออะไรกันนะ (ขอพูดพอสังเขปให้เห็นภาพ ใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ)
       การพิมพ์ 3 มิติ เราสามารถสร้างแบบจำลองได้ 2 แบบครับ คือแบบสร้างใหม่เลยด้วยโปรแกรมสร้างชิ้นงาน 3 มิติ และอีกแบบคือใช้เครื่องแสกนแบบ 3 มิติ กับงานที่มีแบบของจริงอยู่แล้ว จากนั้นส่งเข้าโปรแกรมสร้างแบบ 3 มิติ แล้วพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ชิ้นงานออกเป็นชั้นๆ ตามไฟล์ที่โปรแกรมสร้างแบบได้แบ่งชิ้นงานที่แสกนออกเป็นส่วนๆ หลายร้อยหรือหลายพันไฟล์ (การพิมพ์ 3 มิติ จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่อีกเช่นกัน มันมีประวัติการพัฒนามานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันเป็นที่ฮีอฮามากเพราะมันเริ่มเข้าถึงระดับครัวเรือนได้ใช้ได้แล้ว

       เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้ ก็ยังมีเทคโนโลยีที่นำมาใช้อีก 3 เทคโนโลยีด้วยกัน (ทีเป็นที่นิยมในตอนนี้) คือ

              1. เทคโนโลยี Selective laser sintering (SLS) หรือการยิงแสงเลเซอร์
                   เทคโนโลยีนี้ใช้แสงเลเซอร์ที่มีพลังงานสูงในการหลอมรวมอนุภาคขนาดเล็กของพลาสติก โลหะ ผงเซรามิค หรือผงแก้วเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็นชิ้นงานวัสดุสามมิติที่ต้องการ  จดลิขสิทธิ์ได้ ดร. คาร์ล เดคการ์ด แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัสในช่วงกลางของปี 1980 ภายใต้การสนับสนุนจาก DARPA.

              2. เทคโนโลยี Fused deposition modeling (FDM) หรือการพิมพ์แบบใช้หัวฉีด
                   เทคโนโลยีการพิมพ์แบบใช้หัวฉีดนี้ทำงานโดยใช้เส้นใยพลาสติกหรือลวดโลหะ และส่งผ่านวัสดุนี้ไปยังหัวฉีดที่สามารถเปิดปิดการไหลได้ หัวฉีดนี้จะความร้อนเพียงพอที่จะหลอมละลายวัสดุและเคลื่อนย้ายได้ทั้งทิศทางแนวนอนและแนวตั้ง โดยกลไกการควบคุมตัวเลขที่ควบคุมโดยตรงจากโปรแกรม Computer-aided manufacturing (CAM) ถูกคิดค้นโดย สก็อต ครัมพ์ ในช่วงปลายยุค 80

              3. เทคโนโลยี Stereolithography (SLA) หรือการพิมพ์โดยยิงลำแสงอุลตร้าไวโอเล็ต
                   เทคโนโลยีหลักที่ใช้ในการผลิต photopolymerization เพื่อผลิตชิ้นงานของแข็งขึ้นจากวัสดุเหลวได้แก่เทคโนโลยี SLA เทคโนโลยีนี้ใช้วัสดุของเหลวแบบเรซินหรือ liquid ultraviolet curable photopolymer และใช้แสงเลเซอร์อุลตร้าไวโอเล็ตในการสร้างชั้นของวัตถุทีละชั้น ในแต่ละชั้น

       ลองดูตัวอย่างการพิมพ์ออกมาเป็นหุ่นได้ที่นี่ครับ https://youtu.be/Vhxh8JdsvHU

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

อุตสาหกรรม 4.0 (ต่อ) องค์ประกอบที่ 1 หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots)

       ต่อจากวานนี้ผมได้พูดเรื่อง Industry 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไปแล้ว ถึงตรงที่องค์ประกอบทั้ง 9 อย่างที่จะก่อให้เกิดแนวคิดได้
       วันนี้ จะมาพูดเรื่ององค์ประกอบที่ 1 กันครับ ว่าเป็นอย่างไรกัน นั่นก็คือ หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots) 
       เมื่อพูดถึงหุ่นยนต์ หลายคนคงนึกถึงในหนังการ์ตู แต่ในที่นี้มันคนละอย่างกันนะครับ หุ่นยนต์ เป็นเครืองมีอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ที่มนุษย์ สร้างขึ้นมาให้ทำงานแทนคน ในจุดที่เสี่ยงภัย ที่คนไม่สามารถทำได้ หรือทนต่อสภาวะต่างๆอันเลวร้ายได้ แล้ว มันทำงานอย่างไรล่ะ? 
       หุ่นยนต์ใช้อุปกรณ์ใช้อุปกรณ์มอเตอร์ โซลินอยด์ หรือ นิวเมติก เป็นตัวขับเคลื่อนข้อต่อต่างๆ และใช้กระแสไฟฟ้าเป็นต้นพลังงานขับเคลื่ออุปกรณ์อีกที โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวสั่งการให้ทำนู่นนี้นั่น ตามแต่โปรแกรมที่เขียนไว้ ส่วนการควบคุมหุ่นยนต์นั้น บางครั้งก็ยังมีการควบคุมแบบใช้สายสัญญาณ หรือไช้การคุวบคุมแบบไร้สาย ก็ได้ ซึ่งหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแขนกล ใช้หยิบจับชิ้นงานต่างๆ แทนคน เชื่อมชิ้นงาน หรือ ประกอบชั้นส่วน ขันน็อต และอื่นๆ ซึ่งมันสามารถทำงานในจุดงานหรือแบบเดิมๆได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด แม่นยำ
       แขนกลอุตสาหกรรมโดยทั่ไปจะมีข้อต่อ 6 ข้อต่อ โดยคล้ายกับแขนของมนุษย์โดยเริ่มจากหัวไหล่ ข้อศอก และมือ ในหุ่นยนต์จะมีฐานหุ่นทำหน้าที่คล้ายบ่าเพื่อรองรับโครงสร้างที่มีการเคลื่อนที่ เราเรียกข้อต่อจุดหมุนว่าเป็นองศาอิสระ (Degrees Of Freedom: DOF)
       ย้อนกลับมาที่หุ่นยนต์อัตโนมัติ คือ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานทุกอย่างได้ด้วยตัวของมันเอง มีอิสระในการทำงาน ปราศจากการควบคุมจากมนุษย์ มันมีโปรแกรมที่ป้อนไว้ ให้มันทำงานเองได้ หลับหลีกหรือแก้ปัญหาเองได้  หุ่นยนต์อัตโนมัติมีความฉลาดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโปรแกรมและเซ็นเซอร์ต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

อุตสาหกรรมยุค 4.0 เป็นอย่างไร

       เมื่อไม่นานมานี้ ลูกพี่เพิ่งได้พูดในการประชุมแผนกเราว่า ให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการทำงานในยุค 4.0 แล้วมันคืออะไร แล้วผลกระทบกับเราล่ะ? ทำไมลูกพี่ถึงบอกให้เตรียมความพร้อม ทั้งตัวเราและความรู้ที่จะใช้ในการทำงานต่อจากนี้
"อุตสาหกรรม 4.0 จริงแล้วก็คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือบางคนใช้คำว่าอุตสาหกรรมที่ 4 ซึ่งการปฏิวัติ ในแต่ละครั้งเป็นอย่างไรบ้างล่ะ?"

ยุคต่างๆของระบบอุตสาหรกรรม

       ช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อใช้กันเอง ขาย หรือรับมาทำที่บ้าน แล้วก็จะมีพ่อค้ามารับไปจำหน่ายต่อ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ก็คนในครอบครัว หรือจ้างคนที่รู้จักมาช่วยทำ ซึ่งยุคนี้ แรงงานหลักคือ แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมถึงการใช้พลังงานธรรมชาติ และมีการใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ ต่อมาต้องการการผลิตที่สูงขึ้น ก็มีการจ้างมากขึ้น จนกลายเป็นระบบโรงงานขึ้น

       ย้อนมาดูยุคแรกกัน ยุคนี้อาจจะเรียกได้ว่า เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก ด้วยชายที่ชื่อว่า “เจมส์ วัตต์” แล้วเค้าทำอะไร?  เค้ามีชื่อมาก จากการสร้างเครื่องจักรไอน้ำชื่อนิโคแมน ให้มีการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก ส่งผลให้การผลิตผ้าเพิ่มจากเดิมถึง 3 เท่า ลดแรงงานสัตว์  สร้างรถไฟไอน้ำในการขนส่งและช่วยลดระยะการคมนาคม รวมถึงนวัตกรรมอื่นๆอีกมาก แล้วยังมีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้อย่างมากมาย เรียกได้ว่า “ยุคเครื่องจักรไอน้ำ” รวมถึงอาจจะพูดได้ว่าเค้าคือจุดเริ่มต้นของโรงงานผลิตที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเข้ามาช่วยในการผลิตก่อกำเนิดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ขึ้น

       ยุคการปฏิวัติครั้งที่ 2 เป็นยุคที่เราคุ้นเคยกับชื่อผู้นี้มากเลย ก็คือ “เฮนรี่ ฟอร์ด” ซึ่งเค้าคือผู้ที่สร้างรถยนต์โมเดลทีให้มีชื่อเสียงแล้วยังเพิ่มการผลิตรถยนต์ได้ โดยเริ่มนำระบบมาใช้เมื่อ ค.ศ. 1913  จนกระทั่งหยุดสายการผลิตที่ปี ค.ศ. 1927 และผลิตรถยนต์ได้ 15 ล้านคัน ด้วยการนำระบบการผลิตแบบสายพานเข้ามาใช้ในการผลิตรถยนต์ และได้เปลี่ยนการใช้พลังงานไอน้ำมาใช้พลังงานไฟฟ้า จึงสามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน จนโรงงานอื่นนำเทคนิคนี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย ถึงตรงนี้เรียกได้ว่า ยุคของการผลิตสินค้าเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากหรือ "Mass Production"

       ยุคการปฏิวัติครั้งที่ 3 (คนไทยรู้จักกันน้อยครับ) เป็นยุคที่นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติขึ้น  และนำมาเสริมการทำงานแบบการใช้กลไกเพียงอย่างเดียว ด้วยการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการผลิตแทนแรงงานมนุษย์มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น โดยหลายๆโรงงานต้องมีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติเข้ามามีส่วนร่วมการผลิตด้วย บางที่ใช้ระบบอัตโนมัติขั้นสูงเพื่อผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนมากๆ เพื่อให้สินค้ามีราคาต่ำพอที่ผู้บริโภคจะสามารถจ่ายได้

       จากยุคที่ 3 ทำให้เราสามารถผลิตสินค้าที่เหมือนๆกันเป็นจำนวนมากได้ในพริบตาแล้ว ด้วยระบบคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ที่นำมาช่วยในการผลิตแล้ว ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 นี้ จึงได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง ส่งผลให้ผลิตสินค้าได้หลากหลายตามความต้องการของลูกค้าได้ในจำนวนมากและเสร็จในพริบตา โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรแบบ “Smart Factory”


แนวคิด อุตสาหกรรม 4.0 นี้ จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิต เข้ากับการเชื่อมต่อทางเครื่อข่ายในรูปแบบ “The Internet of Things (IoT)” คือการทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล
       อุตสาหกรรม 4.0 จริงแล้วไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นการผสมผสานองค์ประกอบด้านเทคโนโลยี่ 9 ด้านเข้าด้วยกัน ดังนี้ 

       1. หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous Robots) มาเป็นผู้ช่วยในการผลิต
       2. การสร้างแบบจำลอง (Simulation) เช่น การพิมพ์แบบ 3D เสมือนจริง
       3. การบูรณาการระบบต่างๆเข้าด้วยกัน (System Integration)
       4. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (Internet Of Things) ที่ทำให้เป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ
       5. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Cyber Security)
       6. การประมวลและเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Cloud Computing)
       7. การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเนื้อวัสดุ Additive Manufacturing เช่น การขึ้นรูปชิ้นงานในเครื่องพิมพ์ 3D
       8. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนโดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
       9. ข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big data) คือชุมนุมของชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน มีทั้งการบันทึกและจัดเก็บ การค้นหา การแบ่งปัน และการวิเคราะห์ข้อมูล

       จากบทความนี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย เพื่อเดินต่อได้ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น อะไรที่มีในหนังไซไฟหลายเรื่องจริงแล้วไม่ได้เกินจากปัจจุบันที่จะเข้ามาในไม่ช้านี้แน่ครับ

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

แรงบันดาลใจจาก "เฟร็ด"

     จากคำขอความร่วมมือ ของหัวหน้า ให้เราช่วยกันคิดว่าเราจะมีวิธีไหนสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเราได้บ้าง วันนี้มีเตือนความจำมาสะกิดครับ   เอ??? ทำไร  ทำไงดีน๊า  ก็นึกถึงหนังสือเล่มนึง ที่อ่านยังไม่จบ



     เฟร็ด เป็นเพียงบุรุษไปรณีย์กินเงินเดือนรัฐของอเมริกาคนนึง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆคน
แล้วทำไมต้อง เฟร็ดล่ะ? ....ก็เพราะว่า
     เฟร็ด ทำให้เราเห็นว่า ในสังคมยังมีคนที่ทำงานมากกว่าคิดว่ามันเป็นหน้าที่่ แต่ทำงานนั้นด้วยใจรัก ซึ่งหลายๆคนทำ เพราะมันเป็นงาน แต่เฟร็ดเค้าทำหน้าที่บุรุษไปรณีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้ทุกคนที่เป็นลูกค้าคิดว่า ถ้าเรื่องนี้ต้องเป็นคนคนนี้เท่านั้นที่ทำได้ดีที่สุด เพราะเค้าเห็นความสำคัญในหน้าที่ที่แสนจะธรรมดา แต่จริงแล้ว ทุกหน้าที่ ทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญในตัวมัน ไม่ว่าจะเป็นคนกวาดถนน คนส่งของ หรืออื่นๆ ถ้าไม่ใช่คนเหล่านั้น แล้วใครล่ะที่จะทำ แล้วถ้าเราทำงานนี้ ก็เพราะว่าเราไงที่เหมาะสม
ถ้าคิดแบบนี้ คิดอย่างที่เฟร็ดทำ งานที่เราทำก็จะมีคุณค่า ตัวเราเองก็จะเห็นคุณค่าในตัวเราและเราจะมีความสุขในงานที่ทำ เมื่อเรามีความสุข พร้อมด้วยการใส่ใจและเห็นความสำคัญในลูกค้า หรือคนที่ติดต่อกับเราแล้ว เราจะสามารถสร้างความประทับใจได้มากมาย เช่นเดียวกับ เฟร็ด ที่ใส่ใจในการส่งเอกสารให้ถึงมือ เป็นระเบียบ และคิดถึงความปลอดภัยของพัสดุและทรัพย์สินของเจ้าของบ้าน ถึงแม้จะไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน เฟร็ดจะหาวิธีการมานำเสนอ ก่อนที่ลูกค้าจะคิดเสียอีก ทำให้คนที่ได้รับการบริการประทับใจ และเป็นจุดแข็งขององค์กร
     ซึ่งเราสามารถพบเจอเฟร็ดได้ในทุกที่ ทุกสายอาชีพ แต่ที่ผ่านมาเราได้แต่มองผ่าน ไม่เคยคิด แต่ก็มีความประทับใจในคนๆนั้น แต่ให้รู้ว่านั่นคือ เฟร็ด อีกคน
     เฟร็ด เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนจำนวนมาก จากเรื่องราวที่ตีแผ่ถึงความประทับใจในคนๆนี้ จนมีคนคิดมอบรางวัลชื่อ ว่า "รางวัลเฟร็ด" ให้กับคนที่ทำได้อย่างเฟร็ด
     คุณเองก็เป็น เฟร็ด ได้ และนี่คือส่วนหนึ่งทีผมได้อ่าน และรับรู้จากหนังสือเล่มนี้ ถ้าผมอ่านจบแล้ว และมีประเด็นอะไรที่มากกว่านี้ จะมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ