จากบทความก่อนหน้า ผมได้พูดเรื่องหลัก 3Gen จากตรงนั้น เราสามารถวิเคราะห์อะไรต่างๆได้ตรงจุดก็จริง แต่การที่จะให้การทำงานนั้นหรือการพัฒนานั้นเกิด คุณภาพของการพัฒนา หรือ มูลค่าเพิ่ม(Value Added) เราจำเป็นต้องมี หลัก 2G เพิ่มเติม จึงจะเกิดขึ้นได้ ตามแนวคิดของ โทโมโซ โกบาตะ.
จากการที่เราหลายๆคนใช้หลักการ 3G มาช่วยในการวิเคาะห์ แก้ไขและพัฒนาด้านต่างๆแล้ว นอกจาก GENBA , GENBUTSU , GENJITSU ที่เพิ่มมาคือ หลักการทางทฤษฎี (GENRI) และระเบียบกฏเกณฑ์การปฏิบัติ (GENSOKU) หรือระเบียบข้อบังคับพื้นฐานมาร่มกับ 3G แล้วล่ะก็ เราก็สามารถที่จะพัฒนางานที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มได้อย่างแน่นอน
ในการพัฒนาให้เกิด มูลค่าเพิ่มของงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องนำหลักทฤษฎี (GENRI) เข้ามาปิดสมมุติฐานที่ได้จากหน้างานจริง ของจริง และสถานะการณ์จริงแล้ว ว่าด้วยกระบวนการคิด ทดลองทางวิทยาศาสตร์และสถิติ ตามข้อมูที่ได้วิจัยเพื่อให้เกิดการยอมรับและมั่นใจว่ามันเป็นจริงตามสมุติฐานนั้น
แต่การที่เราได้ทดลอง วิจัย สรุปผลแล้วเลือกที่จะปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะเกิดผลติดลบหรือผลเสียอย่างใหญ่หลวงก็ได้ ถ้าวิธีการที่เราได้เลือกและวางแผนนั้นผิดไปจากกฏระเบียบของโรงงานหรือผิกกฏหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น GENSOKU จึงเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญอีกหลักหนึ่ง ระเบียบพื้นฐานของเรา ที่หลายคนอาจหลงลืมคิดคำนึงถึงไปได้ ดังนั้นเราจึงควรจะยึดแนวทางปฏิบัติตามหลัก 5G อย่างเคร่งครัด เมื่อต้องคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา ปรับกระบวนการทำงาน หรือปรับปรุงระบบใดๆทุกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น