1. Check Sheet
แบบฟอร์มที่จัดทำขึ้นมาเพื่อเว้นช่องให้กรอกข้อมูลต่างๆเพื่อบันทึก หรือข้อมูลตามที่จำเป็นต่อการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ในภายหลัง
2. Graph
การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดทำให้อยู่ในรูปแบบกราฟต่างๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม เป็นต้น เพื่อให้สามารถเห็นแนวโน้ม หรือง่ายต่อการดู พิจารณา หรือวิเคราะห์ต่อไป
3. Cause and Effect Diagram
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะกับปัจจัยต่าง ที่เราหลายคนรู้จักในชื่อแผนภูมิก้างปลา หรือบางคนอาจเรียกว่า Ishikawa Diagram ซึ่งเรียกตามชื่อของ Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ที่นำแผนภูมินี้มาใช้เป็นคนแรกเมื่อปี 1953
4. Pareto Diagram
เป็นแผนภูมิที่นิยมใช้กัน มันสามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของปัญหากับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งชื่อแผนภูมินี้ ถูกเรียกเลียนแบบชื่อของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียนชื่อ Vilfredo Federico Damaso Pareto ซึ่งเป็นผู้คิดค้นหลักการนี้นั่นเอง
5. Histogram
เป็นแผนภูมิที่ใช้ช่วยในการวิเคราะห์ความผิดปกติของกลุ่มข้อมูลที่ได้มา โดยที่แผนภูมิมีลักษณะเป็นแท่งเรียงติดกันตามแกนแนวนอนที่บอกถึงค่าขอบบนและขอบล่างหรือค่ากลาง ส่วนแกนแนวตั้งเป็นความถี่ของแต่ละชั้น ซึ่งสัมพันธ์กับแท่งแต่ละแท่งที่มีความถี่ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน
6. Scatter Diagram
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับแผนภูมินี้สักเท่าไหร่ แต่สาระสำคัญขอมันคือ มันเอาไว้ใช้ในการแสดงค่าข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันของสองข้อมูล ว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใดมากกว่ากัน
7. Control Chart
แผนภูมินี้คือแผนภูมิที่มีการแสดงค่าที่ยอมรับได้ ส่วนมากได้จากสูตรคำนวณมา (ค่ากำหนดทางเทคนิค หรือ ค่าที่ตั้งไว้ว่าเป็นค่าปกติ ที่ถูกต้อง หรือควรจะเป็น) เพื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บได้มากับ Spec ที่กำหนดหรือไม่ และมีค่าขีดจำกัดบน - ขีดจำกัดล่าง (ได้จากการคำนวณค่าทางสถิติ) เอาไว้เพื่อดูว่ามีข้อมูลใดที่ออกนอกกรอบ หรือเกินจากขีดจำกัดที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีข้อมูลใดเกินขีดจำกัด (Out of Control) หมายถึงข้อมูลนั้นผิดปกติ ต้องได้รับการตรวจสอบหาสาเหตุ ที่ทำให้เกิดเหตุผิดปกตินี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น