วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ว่ากันต่อเกี่ยวกับถังดับเพลิง

      จากวานนี้เขียน Blog จากที่ว่าอยากจะได้ถังดับเพลิง แต่ไม่เข้าใจกับชนิดของไฟและถังที่จะนำมาใช้งาน และได้อธิบายจากที่ได้หาอ่านประเภทของไฟไปแล้ว แต่เรื่องของถังดับเพลิงก็ยังมีรายละเอียดอยู่อีก วันนี้ขอต่อจาก Blog ที่แล้วนะ ซึ่งจริงๆแล้วเท่าที่พบเห็นถังดับเพลิงในท้องตลาดมีด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแตกต่างกันไปตามสารหรือสิ่งที่บรรจุเพื่อใช้ดับไฟและความสามารถของไฟที่จะดับได้ด้วยถังชนิดนั้นๆ

      ประเภทของถังดับเพลิง

      1. Dry Chemical หรือถังดับเพลิงแบบเคมีแห้ง
          ภายในถังได้บรรจุสารเคมีชนิดผงเอาไว้ แล้วอัดด้วยแรงดันเพื่อใช้เป็นแรงขับตอนเราฉีดออกมา ซึ่งความสามารถในการดับไฟของถังชนิดนี้คือ ไฟประเภท A  B  C ถังชนิดนี้หาซื้อง่าย  ราคาถูก  และสามารถนำถังที่ฉีดหมดแล้วไปใช้บรรจุใหม่ได้อีก ไม่จำเป็นต้องซื้อถังใหม่ เมื่อเปิดใช้งานแล้ว แรงดันจะตกลงและไม่สามารถใช้งานได้อีก ดังนั้นเมื่อนำมาฉีดแล้ว จึงต้องฉีดให้หมด และด้วยที่ว่ามันเป็นผง จึงฟุ้งกระจาย เลอะเทอะเมื่อใช้งาน

      2. Low Pressure Water Mist หรือถังดับเพลิงเคมีชนิดน้ำ
           ภายในบรรจุน้ำยาเคมีชื่อว่า "ABFFC" สามารถดับไฟได้ดีและไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ซึ่งความสามารถในการดับไฟคือ ไฟประเภท A  B  C และ K  ดับไฟได้ทุกประเภท และไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า และสามารถดับไฟใน Class K ได้ด้วย นั้นคือไฟที่เกิดจากการปรุงอาหารก็ดับได้ จึงเหมาะที่จะให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

      3. Halotron ถังดับเพลิงชนิดสารสะอาดหรือฮาโลตรอน
           ภายในบรรจุด้วยสารเคมีฮาโลตรอนวัน เมื่อฉีดออกมาสารนี้สามารถระเหยไปได้  ความสามารถดับไฟประเภท A  B และ C ได้โดยไม่ทิ้งคราบ มันจึงเหมาะอย่างยิ่งกับห้อง Server ของเราครับ แต่ด้วยสารเคมีชนิดนี้ค่อนข้างผูกขาดมันจึงมีราคาสูงครับ และมีตัวแทนจำหน่ายน้อยในไทยครับ

      4. CO2 หรือถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
           ภายในบรรจุด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดมันออกมาสัมผัสกับอากาศ มันจะกลายเป็นไอเย็นเหมื่อนน้ำแข็งแห้ง ช่วยออกฤทธิ์ในการลดความร้อนของไฟได้ มันไม่ทิ้งคราบเมื่อฉีดแล้ว ความสามารถดับไฟประเภท B และ C ได้

      5. Foarm หรือถังดับเพลิงชนิดโฟม
           ภายในบรรจุสารเคมีชนิดโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นตัวปิดผิวด้านบนของจุดที่เกิดไฟไหม้ เมื่อดับไฟ ซึ่งความสามารถในการดับไฟชนิด A กับ B เท่านนั้น มันเหมาะมากกับสถานที่ที่มีการเก็บและใช้สารเคมีติดไฟ เช่น ทินเนอร์


      ทีนี้เราน่าจะเลือกได้แล้วว่าจะเลือกถังดับเพลิงแบบไหน คราวนี้ก็ต้องลองไปดูว่ามีถังที่เหมาะกับเราหรือไม่ ผมหวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น